เมื่อพูดถึงการทำแบรนด์ คงจะขาดเครื่องหมายการค้าหรือ Logo ไปไม่ได้ เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำ จึงต้องทำเครื่องหมายการค้าขึ้นมาให้เกิดเป็นภาพจำของคนที่ได้เห็น เช่นเดียวกับแบรนด์ “สวนบ้านแก้ว”ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่มีเครื่องหมายการค้าเป็นรูป “คนหาบกระจาด” ตามที่เราเห็น แต่ใครจะรู้ว่าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ยังมีความหมายที่ซ่อนอยู่อีกด้วย วันนี้เราจะมาพูดถึงความหมายสัญลักษณ์ในแต่ละส่วนของเครื่องหมายการค้าแบรนด์ “สวนบ้านแก้ว” กัน…

ความหมายของรูปคนหาบกระจาด

ตราสินค้ารูปคนหาบกระจาดแบบชาวบ้านของบริษัท รำไพพนา จำกัด (บริษัทค้าไม้) โดยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้ทรงหารือกับ ม.ร.ว.สมัครสมาน กฤษดากร และหม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี  จักรพันธุ์ เพื่อสื่อถึงความเป็นชาวบ้านในสมัยก่อนที่ใช้กระจาดเป็นเครื่องมือในการหารายได้

แบรนด์สวนบ้านแก้ว ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ครั้งที่ 22/2563 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 โดยมติที่ประชุมรับทราบการใช้ตราสัญลักษณ์ “คนหาบกระจาด” เป็นตราสัญลักษณ์และเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย

และการใช้สัญลักษณ์ “คนหาบกระจาด”ได้รับอนุญาตตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิประชาธิปก–รำไพพรรณี ลงนามโดยรองศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ  ชุมพล กรรมการและเลขาที่การมูลนิธิประชาธิปก–รำไพพรรณี ตามหนังสือเลขรับที่ 2852 ลงวันที่ 6 กันยายน 2563

ในส่วนของคำว่า Suan Ban Kaew (สวนบ้านแก้ว) และ As a Part of Chanthaburi History

  • สวน หมายถึง องค์ความรู้ทางด้านการเกษตร การทำสวน ของภาคตะวันออก
  • บ้าน หมายถึง บ้านหลังใหญ่ที่มีความพร้อมในการพัฒนาด้านวิชาการของคณะต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน
  • แก้ว มาจากคำว่า สวนบ้านแก้ว

As a Part of Chanthaburi History คือชื่อที่มาจากมูลนิธิพระปกเกล้า

และเมื่อนำสัญลักษณ์แต่ละส่วนมารวมกันจึงทำให้เกิดเป็นเครื่องหมายการค้าของแบรนด์ขึ้นมา